วันอังคารที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2552

สระมรกต Unseen in Thailand

สระมรกต
กำเนิดมาจากธารน้ำอุ่น ในผืนป่าที่ราบต่ำภาคใต้ เป็นน้ำพุร้อนลักษณะเป็นสระน้ำร้อน ๓ สระ น้ำใสเป็นสีเขียวมรกต มีอุณหภูมิประมาณ ๓๐-๕๐ องศาเซลเซียส รอบๆ บริเวณเป็นป่าร่มรื่นเขียวครึ้มมีพรรณไม้ที่น่าสนใจ รวมทั้งนกที่หาดูได้ยากเช่น นกแต้วแร้วท้องดำ นกกระเต็นสร้อยคำสีน้ำตาล และนกเงือกดำ โดยมีมีเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติทีนา โจลิฟฟ์ (ทุ่งเตียว) ซึ่งตั้งชื่อตามคุณทีนา โจลิฟฟ์ ชาวอังกฤษ ผู้ริเริ่มความคิดที่จะรักษาอนุรักษ์ป่าดิบชื้นผืนนี้ไว้ไม่ให้ถูกทำลาย เพื่อเป็นการระลึกถึงความตั้งใจและเป็นอนุสรณ์สำหรับคุณทีนา จึงตั้งชื่อเส้นทางศึกษาธรรมชาติเส้นนี้ว่า เส้นทางศึกษาธรรมชาติทีนา โจลิฟฟ์ (ทุ่งเตียว) เส้นทางเดินศึกษานี้มีระยะทาง ๒.๗ กิโลเมตร ตลอดเส้นทางจะมีป้ายสื่อความหมายที่จะคอยบอกเล่าถึงเรื่องราวต่างๆ ในป่าให้นักเดินทางได้ศึกษาหาความรู้ได้ด้วยตนเอง โดยมีจุดเริ่มต้นอยู่ก่อนถึงสระมรกตของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาประ-บางคราม ประมาณ ๘๐๐ เมตร เส้นทางจะผ่านผืนป่าเล็ก ๆ ซึ่งเป็นป่าที่ราบต่ำที่เหลืออยู่เพียงเล็กน้อยทางภาคใต้ของประเทศไทย เส้นทางนี้จะแสดงลักษณะของป่าดิบชื้นที่ราบต่ำอย่างแท้จริง ภายหลังได้มีการจัดตั้งเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาประ-บางครามขึ้น

และที่เห็นสระน้ำใสๆ ดูสะอาดอย่างนี้ก็ไม่เหมาะกับการดื่มกินเพราะอาจทำให้เป็นนิ่วได้ ที่สำคัญใครที่จะลงเล่นน้ำไม่ควรที่จะใช้ แชมพู สบู่ หรือสารซักฟอกใดๆ เพราะจะเป็นตัวเร่งให้สาหร่ายในสระเกิดขึ้นมากจนผิดปกติ และทำให้น้ำเสียได้ในที่สุด




วันเวลาที่แนะนำ สระมรกต สามารถเที่ยวได้ตลอดทั้งปีแต่สภาพที่ดีซึ่งจะเห็นสระเป็นสีเขียวมรกตสดใส มักจะเป็นช่วงเวลาเช้า และเย็น โดยเฉพาะในวันฤดูร้อนที่ท้องฟ้าสดใสปราศจากเมฆฝน
ค่าเข้าชม เด็ก 10 บาท ผู้ใหญ่ 20 บาท
ต่างชาติ เด็ก 100 บาท ผู้ใหญ่ 200 บาท
เปิดให้เข้าชมตั้งแต่ 08.30 น. ถึง 17.00 น. ทุกวัน




การเดินทาง อยู่ห่างจากอำเภอเมืองกระบี่ตามถนนเพชรเกษม (กระบี่-ตรัง) ประมาณ 45 กิโลเมตรจากนั้นแยกเข้าถนนสุขาภิบาล 2 สังเกตจากป้ายบอกทาง ตรงที่ว่าการอำเภอคลองท่อมไปอีกประมาณ 15กิโลเมตร จากที่จอดรถเดินทางเท้าเข้ามาประมาณ 800 เมตร จะถึงตัวสระมรกต

ขอบคุณแหล่งข้อมูลจาก
http://www.oceansmile.com/S/Krabri/Namtokron.htm
http://www.annaontour.com/province/krabi/green-lake.php

วันเสาร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ซอฟต์แวร์เพื่อสังคม (Social Software )

ซอฟต์แวร์เพื่อสังคม คือซอฟต์แวร์ที่ทำให้ผู้คนสามารถนัดพบปะเชื่อมสัมพันธ์หรือทำงานร่วมกันโดยมีคอมพิวเตอร์เป็นสื่อกลาง เกิดเป็นสังคมจำแนกกลุ่มของซอฟต์แวร์เพื่อสังคมนั้น ในตอนนี้แบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ
1. กลุ่มที่ใช้ประโยชน์ในการติดต่อสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ต
2. กลุ่มที่ใช้ประโยชน์ในการจัดการความรู้

ชนิดของเครื่องมือที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารเครื่องมือซอฟต์แวร์สังคม เช่น
1.เครื่องมือเพื่อการสื่อสาร แบ่งออกเป็น Asynchronous และ Synchronous
แบ่งออกเป็น 2 แบบคือ
- เครื่องมือที่ใช้ในการสื่อสารสองฝ่ายไม่พร้อมกัน (Asynchronous) คือไม่จำเป็นต้องอยู่ที่หน้าเครื่องคอมพิวเตอร์พร้อมกัน
- เครื่องมือที่ช่วยในการสื่อสารคนสองคนหรือเป็นกลุ่ม แบบสองฝ่ายพร้อมกัน (Synchronous )
2. เครื่องมือเพื่อการสร้างการจัดการความรู้เป็นเครื่องมือเพื่อการใช้ข้อมูลร่วมกัน รวมทั้งให้ความรู้ และสร้างความรู้ใหม่ เช่น Wiki , Blog เป็นต้น

ตัวอย่างเครื่องมือทางสังคมต่างๆ
Blog
ความหมายของคำว่า Blog
Blog มาจากคำเต็มว่า WeBlog บางครั้งอ่านว่า We Blog บางคนอ่านว่า Web Log แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ทั้งสองคำบ่งบอกถึงความหมายเดียวกัน ว่านั่นคือ บล็อก (Blog)
Blog คือการบันทึกบทความของตนเอง (Personal Journal) ลงบนเว็บไซต์ ใน blog นั้นจะมีเนื้อหาเป็นเรื่องใดก็ได้ หรือสิ่งที่ตนเองสนใจต่าง ๆ
Blog จะมีลักษณะบางประการที่แตกต่างจากเว็บเพจมาตรฐานทั่วไป Blog จะมีอุปกรณ์ที่จะช่วยให้สร้างหน้าเว็บใหม่ได้ง่าย
Blog แตกต่างจากเว็บอื่น ๆ อย่างไร - Blog จะมีลักษณะบางประการที่แตกต่างจากเว็บเพจมาตรฐานทั่วไป
Blog จะมีอุปกรณ์ที่จะช่วยให้สร้างหน้าเว็บให้สร้างหน้าเว็บใหม่ได้ง่าย


ตัวอย่างเว็บ blog

Wiki

Wiki อ่านออกเสียง "wicky", "weekee" หรือ "veekee" เป็นเทคโนโลยีที่ทำให้เราสามารถสร้างและแก้ไขหน้าเว็บเพจขึ้นมาใหม่ผ่านทางบราวเซอร์ โดยไม่ต้องสร้างเอกสาร html

Wikipedia เป็นระบบสารานุกรมสาธารณะ ที่ทุกคนสามารถใส่ข้อมูลลงไปได้ รองรับภาษามากกว่า 70 ภาษารวมทั้งภาษาไทย


หน้าจอหลักของ wikipedia

Internet forums

อนุญาตให้ผู้ใช้สามารถโพสหัวข้อลงไปในกระดาน ผู้ใช้คนอื่นๆ ก็สามารถเลือกดูหัวข้อหรือแม้กระทั่งโพสความคิดเห็นของตนเองลงไปได้ ฟอรั่มโดยส่วนใหญ่ จะอนุญาตให้ใครก็ได้สามารถลงทะเบียนเข้าใช้งานได้ตลอดเวลา มีเพียงบางฟอรั่มที่อนุญาติเฉพาะกลุ่ม อาจจะต้องมีการเสียตังเข้าไปเพื่อใช้งานเฉพาะกลุ่มหรือจำกัดจำนวนสมาชิกเพื่อการเข้าใช้

ตัวอย่างหน้าจอ Forum

Instant Messaging


เป็นการอนุญาตให้มีการติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคลบนเครือข่ายที่เป็นแบบ Relative privacy ( ออกจะเป็นส่วนตัว ) เช่น MSN Messenger เป็นต้น


ปัจเจกวิธาน (Folksonomy)ก่อนหน้าการกำเนิดขึ้นของปัจเจกวิธาน โดยทั่วไปแล้ว ได้มีการจัดกลุ่มการจัดระเบียบและค้นหาข้อมูลในอินเทอร์เน็ตโดยทั่วไปมี 3 แบบ คือ

- ค้นหาในเนื้อความ (Text Search)

- เรียงเนื้อหาตามลำดับเวลา (Chronological)

- แยกตามกลุ่มประเภท (Category, Classification)


ค้นหาในเนื้อความGoogle ที่ก่อตั้งโดย Sergery Brin และ Larry Page ได้ออกแบบเพื่อจัดอันดับความสำคัญของเว็บโดยคำนวณจากการนับ Link จากเว็บอื่นที่ชี้มาที่เว็บหนึ่ง ๆเป็นที่น่าติดตามว่าจะมีเทคนิควิธีในการค้นหาข้อมูลใหม่ ๆ อย่างไรต่อไปเรียงเนื้อหาตามลำดับเวลา (Chronological)เนื้อหาข้อมูลจะถูกจัดเก็บเรียงลำดับเวลาโดยแสดงตามเวลาใหม่ล่าสุดก่อน เช่น เว็บไซต์ประเภทข่าว อย่าง CNN, BBC และ google news แยกตามกลุ่มประเภท (Category, Classification)การจัดระเบียบแบบนี้ยึดเอาหัวข้อเป็นหลัก แล้วแยกประเภทออกไป


ข้อมูลที่มีมากมายบนอินเทอร์เน็ตก่อให้เกิดปัญหาในการจัดระเบียบและค้นหาข้อมูลในอินเทอร์เน็ต ซึ่ง ปัจเจกวิธาน เป็นรูปแบบหนึ่งในการจัดการข่าวสารความรู้สำหรับปัจเจกบุคคลอันนำมาซึ่งประโยชน์อันกว้างขวางในการศึกษาความสนใจและพฤติกรรมของกลุ่มชนหรือสังคมโดยรวมได้

ปัญหาที่พบเกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารบนอินเทอร์เน็ต ได้แก่

- เนื้อหามีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วรายวัน

- การค้นหาข้อมูลที่ตรงตามความต้องการมากที่สุดทำได้ยาก เนื่องจากเนื้อหาที่มีจำนวนมาก

- การค้นหาข้อมูลเฉพาะด้านที่ขึ้นกับความสนใจของผู้ทำการค้นไม่ตรงจุด

- ข้อมูลที่พบอาจจะขาดความน่าเชื่อถือ


การใช้ประโยชน์จากซอฟต์แวร์เพื่อสังคมขึ้นอยู่กับตัวผู้ใช้และหาข้อมูลผ่านจากซอฟแวร์พวกนี้มากกว่า ไม่ขึ้นอยู่กับตัวซอฟแวร์เพราะได้กล่าวในแต่ละชนิดในขั้นต้นแล้ว

ขอบคุณแหล่งข้อมูลจาก